เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 1.มุสาวาทวรรค 2.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ศิลปวิทยาชั้นสูง ได้แก่ วิชานับ วิชาคำนวณ วิชาเขียน อีกอย่างหนึ่ง
ศิลปวิทยาที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกัน
ในท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นศิลปวิทยาชั้นสูง
ความเจ็บไข้ ทุกชนิดจัดเป็นสิ่งที่เลว ส่วนโรคเบาหวาน1 จัดเป็นโรคที่ดี
ที่ชื่อว่า รูปลักษณ์ ได้แก่ รูปลักษณ์ 2 อย่าง คือ (1) รูปลักษณ์ที่เลว
(2) รูปลักษณ์ที่ดี
ที่ชื่อว่า รูปลักษณ์ที่เลว คือ สูงเกินไป เตี้ยเกินไป ดำเกินไป ขาวเกินไป นี้
จัดเป็นรูปลักษณ์ที่เลว
ที่ชื่อว่า รูปลักษณ์ที่ดี คือ ไม่สูงนัก ไม่เตี้ยนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก นี้จัด
เป็นรูปลักษณ์ที่ดี
กิเลส ทั้งปวง ชื่อว่าเลว
อาบัติ (โทษทางพระวินัย) ทุกอย่างเป็นเรื่องที่เลว แต่โสดาบัติ (การเข้าถึง
กระแสธรรม) สมาบัติ (การเข้าฌาน) เป็นเรื่องที่ดี
ที่ชื่อว่า คำด่า ได้แก่ คำด่า 2 อย่าง คือ (1) คำด่าหยาบ (2) คำด่าสุภาพ
ที่ชื่อว่า คำด่าหยาบ ได้แก่ คำด่าว่า ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ ท่านเป็นโค
ท่านเป็นลา ท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ หวังได้แต่ทุคติ
เท่านั้น คำด่าที่เกี่ยวกับการร่วมประเวณี2 หรือคำด่าที่เกี่ยวกับอวัยวะของชายหญิง
นี้จัดเป็นคำด่าหยาบ
ที่ชื่อว่า คำด่าสุภาพ ได้แก่ คำด่าว่า ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด
ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้
แต่สุคติเท่านั้น นี้จัดเป็นคำด่าสุภาพ

เชิงอรรถ :
1 มธุเมโห อาพาโธ โรคเบาหวาน บางอาจารย์ว่าโรคอ้วน (ถูลกายสฺส มํสูปจโยติ เอเก-วชิร.ฏีกา 370)
2 คำว่า “การร่วมประเวณี” แปลมาจากคำว่า ยกาเรน ภกาเรน (ยภ เมถุเน. มิถุนสฺส ชนทฺวยสฺส อิทํ
กมฺมํ เมถุนํ, ตสฺมึ เมถุเน ยภธาตุ วตฺตติ ยภ-ธาตุใช้ในความหมายว่าเมถุนธรรม คือด่าด้วยคำว่า
ยภ หมายถึงด่าถึงเรื่องของคน 2 คน คือชายกับหญิงมีเพศสัมพันธ์กัน (นีติธาตุ 169, วชิร. ฏีกา 370,
สารตฺถ. ฏีกา 3/15/4, วิมติ.ฏีกา 2/15/3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :204 }